วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"ละคร"กระบวนการแสดงจากจิตเพื่อสังคมมีปัญญา

"ศาสตราที่กล้าแกร่ง หรือแรงแห่งศรัทธา สิ่งใดจะนำพา ซึ่งหนทางดับทุกข์?"

แง่คิดดีๆ จากละครเวทีพุทธจินตนาการ เรื่อง "สัทธา มหาบุรุษ" ของกลุ่มนักศึกษาที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

โดยเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 5 กรกฎาคม 2552 กลุ่มนักศึกษาจากหลายสถาบันได้ร่วมแสดงละคร ณ หอศิลป์กรุงเทพมหานคร

โครงการละครสะท้อนปํญญา ที่นักศึกษาจากหลายสถานบันนำมาแสดงครั้งนี้ ได้ผ่านมาฝึกซ้อม และขัดเกล้าเนื้อเรื่องจากผู้กำกับละครเวทีมืออาชีพ ทำให้เราได้ชม และเห็นการแสดงที่สื่อสะท้อน ทั้ง ปัญหาของสังคม ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเมือง และปัญหาเศรษฐกิจ โดยเรื่องที่นักศึกษานำมาแสดง นั้น แต่ละสถาบันได้มีการจัดเตรียมกันมาเป็นอย่างดี

อาทิเช่น การแสดงของมหาวิทยาลัยราชฏักสวนสุนันทา เป็นเรื่องครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ ในเรื่องกล่าวถึงครอบครัวที่มีลูกยาก และเพราะความต้องการจึงนำไปสู่ปัญหาโดยฝ่ายหญิง ยินยอมที่จะให้สามีไปมีลูกกับเพื่อนสนิทเพื่อฝากท้อง แต่ข้อเท็จจริงทั้งสามี และเพื่อนกลับแอบมีความสัมพันธุ์กันก่อนหน้านั้น เรื่องจึงเกิดขึ้นเมื่อเพื่อนไม่ยอมให้ลูก ส่วนสามีเองก็ไม่เลือกเพื่อน และนั้นก็คือปัญหาของความที่ไม่รู้จักพอ และความไม่สมดุล



ถ้าจะมองลึกลงไปนั้นอาจจะมองได้เป็นเรื่องของศีลธรรม และความถูกต้องเรื่องนี้คงจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่คิดจะทำเรื่องแบบนี้เพราะปัญหามันจะไม่อยู่แค่นี้แน่นอน

ส่วนละครจาก มหาวิทยาลัยราชฏักสวนดุสิต ก็มีละครสะท้อนปัญหาของสังคมเช่นกันชื่อเรื่อง "เงินตราบาป" ในเรื่องก็เล่าถึงความยากจนของครอบครัวชนบท ลูกซึ่งต้องการจะตอบแทนพระคุณของพ่อ จึงเข้ามาหางานทำในเมือง ตอนแรกก็ทำงานเป็นแค่พนักงานธรรมดา แต่ด้วยความที่ต้องการเงินมากขึ้น และเห็นเพื่อนมีเงินจับจ่ายซื้อของราคาแพงก็มีความอยากได้ จึงเข้าสู่อาชีพขายบริการ

แต่ต่อมาพ่อที่อยู่บ้านนอกได้เข้ามาพบว่าลูกทำในสิ่งซึ่งพ่อไม่ต้องการจึงทำให้พ่อเสียใจมาก

ละครได้สื่อถึงความเหลื่อมล้ำของชนชั้นการสนองตัณหาในทางที่ไม่ถูกต้อง และการตอบแทนพระคุณที่สามารถทำได้หลายวิธีที่น่าจะนำมาใช้ได้ แต่ไม่เลือก ในเรื่องยังกล่าวถึงปัญหาในสถานที่ท่องเที่ยวในยามกลางคืนที่เป็นแหล่งก่อปัญหาต่างๆ มากมาย



ในการแสดงของแต่ละสถานบันนั้นต้องยอมรับว่าสะท้อนปัญญาและปัญหาต่าง ๆ ของสังคม ครอบครัวและเศรษฐกิจได้ดี

สำหรับนักศึกษาที่ได้ร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้ บอกว่า จะนำความรู้และประสบการณ์จากละครสะท้อนปัญญาที่นำมาแสดงไปปรับใช้แนะนำผู้ที่ประสบปัญญาให้ได้รู้ถึงปัญญา และวิธีแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกต้องขอขอบคุณสสส. ที่หยิบยื่นโอกาสดีๆ มาให้ และสนับสนุนโครงการดี ๆ เช่นนี้




ด้าน พฤหัส พหลกุลบุตร หัวหน้าโครงการละครสะท้อนปัญญา กลุ่มมะขามป้อม เล่าวว่า ปลายปีที่ผ่านมา สสส.ต้องการสื่อประเเด็นสื่อสุขภาวะทางปัญญา และละคร ก็เป็นหนึ่งสื่อที่ได้รับเลือก โดยได้รับทุนจาก สสส. ลงพื้นที่ภาคกลาง กทม. และภาคเหนือ คัดเลือกภาคละ 10 ทีม ทีมละ 5 คน โดยให้เด็กๆ เป็นผู้คิดเนื้อเรื่อง ส่วนมะขามป้อม จะช่วยในมุมของพี่เลี้ยง เพื่อให้การสะท้อนมุมมองของเด็กที่มีต่อสังคมได้สื่อออกมาจากเด็กจริงๆ

"เนื้อเรื่องที่เห็นค่อนข้างหลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง การศึกษา แต่นั้นก็เป็นสิ่งที่เราไม่ปิดกั้นเพื่อให่ได้รูปแบบ ที่แตกต่างตามความถนัดของนักศึกษาแต่ละสถาบัน เราอยากดูว่าเกิดอะไร จากการที่ได้ทำงานกับเยาวชน ทำให้เราต้องปรับใจ ปรับวิธีคิด เพราะเด็กเขาต้องการแสดงศักยภาพ เราเป็นเพียงผู้พยายามดึงพลังที่เขามีอยู่ออกมาเท่านั้น"

ด้านตัวแทนนักศึกษา บอกว่า หลังจากจบโครงการนี้ จะนำสิ่งที่ได้ไปพัฒนาละครในมหาวิทยาลัย เราเริ่มจากอยากลองทำ และทำได้จริง ดังนั้นความรู้ที่ได้จะนำไปใช้ในการทำละครของมหาวิทยาลัย ตรงนี้เป็นการเพิ่มทักษาเป็นการพัฒนาเพื่อสร้างละครที่ดีออกมา

ส่วนผู้เช้าชมต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นเรื่องที่ดี เด็กคิดจากเรื่องที่ใกล้ตัวสื่อออกมาแล้วเข้าใจง่าย

ขณะที่ผู้ชมรายนี้ที่เพิ่งอายุ 18 ปี กล่าวถึงละคร "สัทธา มหาบุรุษ" ว่า ทำให้ได้รับความรู้ รู้จักคิดเป็น ว่าการจะหาทางดังทุกข์ ต้องดับที่ต้อนตอของความทุกข์ ละครสอนให้เรารู้ว่า "ทุกข์" คืออะไรเราต้องไปดับที่ตรงนั้น แล้วเราจะพ้นทุกข์

ด้านผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม บอกว่า เรื่อง "ของหาย" ที่ในละครต่างก็โทษเพื่อนคนนั้นคนนี้ ทำไมไม่ดูว่าของที่หายนั้นอาจเกิดการจากเผลอเรอของเราเอง

"ละคร" แม้จะรูดม่านจบไปแล้ว แต่ชีวิตยังคงต้องดำเนินต่อไปอย่าลืมหยิบแง่คิดดีๆ ของละครกลับไปใช้เตือนสติตัวเองละ